ฤดูร้อนมาถึงแล้ว อากาศร้อนจัด ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศแบบนี้ โรคต่าง ๆ มักมากับความร้อน และเพื่อรับมือกับโรคที่จะตามมาในช่วงฤดูร้อนนี้ OFM ขอแนะนำให้คุณพก ยาสามัญประจำบ้าน 5 ชนิดต่อไปนี้ติดตัวไว้ ช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด!
- ยาอมแก้เจ็บคอ
อากาศร้อน อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้เจ็บคอได้ง่าย ยาอมแก้เจ็บคอจึงเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดตัวไว้ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายเคืองคอ แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเพียงวิธีบรรเทาอาการชั่วคราว ควรเลือกยาอมให้เหมาะสมกับอาการ ไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ไอมาก หายใจลำบาก ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หากอาการไม่ดีขึ้น
- ยาธาตุแก้ท้องเสีย
หน้าร้อน เป็นช่วงที่หลายคนท้องเสียได้ง่ายจากหลายสาเหตุ เช่น อากาศร้อน อาหารเป็นพิษ น้ำดื่มไม่สะอาด อาหารบูดเสียได้ง่าย ซึ่งการทานอาหารข้างทาง หรือทานอาหารที่ไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสีย ซึ่งยาธาตุมีสรรพคุณช่วยบรรเทาแก้ท้องเสีย จึงเป็นยาที่ควรพกติดไว้นั่นเอง
- ยาแก้แพ้
หน้าร้อน เป็นช่วงที่หลายคนเผชิญปัญหาภูมิแพ้ กำเริบจากอากาศร้อน ฝุ่นละออง มลพิษ แสงแดด และแมลง สิ่งเหล่านี้กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาด เกิดอาการ เช่น คัน ระคายเคือง น้ำมูกไหล ไอ จาม ตาแดง ผื่นคัน ยาแก้แพ้ จึงเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ ช่วยให้รู้สึกสบายตัวขึ้น มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการแพ้เฉียบพลัน
- ผงถ่านคาร์บอน
ผงถ่านคาร์บอนช่วยแก้ท้องเสีย เพราะหน้าร้อนเป็นช่วงที่อาหารบูดเสียได้ง่าย การทานผงถ่านคาร์บอนจะช่วยดูดซับสารพิษและแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วงได้ และยังช่วยดูดซับแก๊ส เนื่องจากอากาศร้อนอาจทำให้รู้สึกอึดอัด อาหารไม่ย่อย ทานผงถ่านคาร์บอนเพื่อดูดซับแก๊สในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง
- ยาลดไข้ และ เจลลดไข้
ยาลดไข้เป็นตัวช่วยสำคัญในการบรรเทาอาการไข้ที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงหน้าร้อน อุณหภูมิที่สูงและความชื้นในอากาศอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ ทั้งนี้ การใช้เจลลดไข้ ก็ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยบรรเทาอาการไข้ และความร้อนในช่วงหน้าร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำงานผ่านกลไกการระบายความร้อนเฉพาะที่ นั่นก็คือบนใบหน้า หรือหน้าผากนั่นเอง
ยาลดไข้เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ OFM แนะนำไป อาจช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อนได้ แต่อย่าลืมทานยาอย่างระมัดระวัง และควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัย หรือปรึกษาเภสัชกรก่อนรับประทานยา
นอกจากการพกยา 5 ชนิดนี้ติดตัวไว้แล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยป้องกันโรคในช่วงฤดูร้อน เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ การทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด เลี่ยงอาหารดิบ อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ทาครีมกันแดด สวมร่ม สวมหมวก สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เลือกเสื้อผ้าเนื้อบางเบา
วิตามินอาหารเสริม ที่สำคัญอย่าลืมล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่าง ๆ ได้ หากมีอาการป่วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง